วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

โฟร์โมสต์ปรับโลโก้ แบบมี “story telling”

อังสุมาลิน ศิริมงคลกิจ
Positioning Magazine(2 กรกฎาคม 2555)

เพื่อทำให้ภาพลักษณ์ของโฟร์โมสต์ดูสดใสโดนใจคนรุ่นใหม่ และแตกต่างจากคู่แข่ง จึงใช้งบประมาณ 400 ล้านบาท รีเฟรชแบรนด์ครั้งใหญ่ในรอบ 2 ปี ชนินทร์ อรรจนานันท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟรีสแลนด์คัมพิน่า (ประเทศไทย) จำกัด บอกว่า การรีเฟรชแบรนด์ได้ผลที่สุดคือการปรับโลโก้กับแพ็กเกจจิ้ง

โจทย์ของโฟสต์ คือ ต้องดูทันสมัย ใหญ่ ชัดเจน แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องคงเอกลักษณ์ความเป็นโฟร์โมสต์ ผู้บริโภคเห็นแล้ว จำได้ทันทีว่าเป็นโฟร์โมสต์ เหตุผลที่โฟร์โมสต์ต้องลุกขึ้นมารีเฟรชแบรนด์ครั้งใหญ่ก็เพื่อสื่อสาร Key Message ใหม่ให้เข้ากับเทรนด์ผู้บริโภคตอนนี้ที่ใส่ใจเรื่องของสารอาหารที่มีอยู่ใน นมมากขึ้น

ผู้บริโภคในประเทศไทยตอนนี้ ทุกคนรู้แล้วล่ะว่า นมมีประโยชน์ แต่ตอนนี้เราอยู่ในขั้นของการสื่อสารที่ชี้ให้เห็นไปเลยว่านมแต่ละแบรนด์มี ประโยชน์แตกต่างกันอย่างไร เราจึงต้องสื่อสารตั้งแต่ต้นทาง เพราะนมเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเรื่องราวมาตั้งแต่ฟาร์ม ตั้งแต่กลุ่มคนเลี้ยง แล้วนมก็เป็นสินค้าที่เกี่ยวพันกับเกษตรของประเทศเยอะมากh

จากแนวคิดดังกล่าวมาสู่คอนเซ็ปต์การสื่อสารใหม่เป็น Quality from Grass to Glass-จากยอดหญ้าถึงนมในมือคุณ ด้วยสารอาหาร 55 ชนิด ซึ่งปรากฏให้เห็นชัดเจนบนแพ็กเกจจิ้งแบบใหม่ที่ดูสะอาดตามากขึ้น เพื่อรองรับพฤติกรรมผู้บริโภคที่สนใจเรื่องฉลากบนโปรดักต์มากขึ้น

เพื่อทำให้การปรับโลโก้ในครั้งนี้เป็นที่จดจำ โฟร์โมสต์จึงแบ่งงบสื่อสารไปที่ TVC เพื่อสร้างการรับรู้กลุ่มแมสด้วยงบประมาณ 80-90% ของงบทั้งหมด ส่วนที่เหลือก็ใช้สื่อสารผ่านทีวีดาวเทียมและดิจิตอล และทดลองใช้ทั้ง Game Online กับ Funtory Machine เครื่องเล่นเกมของโฟร์โมสต์ที่จะถูกนำไปตั้งตามแหล่งวัยรุ่น เช่น เซ็นทรัลเวิลด์ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเด็ก-วัยรุ่นได้เล่นแล้วซึมซับประสาบการณ์ว่าแบ รนด์โฟร์โมสต์

การปรับด้านการสื่อสารของ โฟร์โมสต์ในครั้งนี้เป็นที่น่าสังเกตว่า ช่วงเวลาเดียวกับที่  ดัชมิลค์ รุกตลาดนมพาสเจอร์ไรซ์ ดัชมิลล์ ซีเล็คเต็ด ออกสู่ตลาดเช่นเดียวกัน ถึงแม้ว่าดัชมิลค์จะออกโปรดักต์ในกลุ่มนมพาสเจอร์ไรซ์ ขณะที่โฟร์โมสต์ยังเน้นหนักที่นมยูเอชทีอยู่ แต่ภาพลักษณ์ในองค์รวมของทั้งสองแบรนด์ก็ตรงกัน เป็นการคอนเฟิร์มว่าอินไซท์ที่ผู้บริโภคต้องการในยุคนี้ต้องการ ก็คือเรื่องสารอาหารที่ถูกคัดสรรมาแล้วเป็นอย่างดี ไปจนถึงพฤติกรรมการซื้อที่อ่านลากสินค้าศึกษาสารอาหารที่ตัวเองต้องการ  


มูลค่าตลาดนมในประทศไทย 36,000 ล้าบาท
นมยูเอชท 60% (เติบโต 7%)    
นมพาสเจอร์ไรซ์ 40% (เติบโต 10%)

อัตราการบริโภคนมของคนไทย
คนไทย 14ลิตร/คน/ปี
อาเซียน 60 ลิตร/คน/ปี
ทั่วโลก 103 ลิตร/คน/ปี

Source: http://www.positioningmag.com/magazine/printnews.aspx?id=94906