วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ผลกระทบจากการปรับเปลี่ยนองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย

อนัฐชา ปราบพาล 2546

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง ผลกระทบจากการปรับเปลี่ยนองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย โดยมี วัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อศึกษาผลกระทบจากการปรับเปลี่ยนองค์การที่มีต่อพนักงาน โดยใช้วิธี การศึกษาเชิงปริมาณโดยกลุ่มตัวอย่าง 130 ตัวอย่าง สุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ( Stratisfied Random Sampling )

ผลการศึกษาพบว่าผลกระทบโดยรวมจากการเปลี่ยนองค์การอยู่ในระดับสูงโดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน หมายถึง การปรับตัวเข้ากับเพื่อนร่วมงาน ด้านความร่วมมือของเพื่อนในการปฏิบัติงานและด้านอื่น ๆ ได้รับผลกระทบในระดับต่ำ
2. ด้านความพึงพอใจในการทํางาน หมายถึง ความรู้สึกพอในการทํางานและเต็ม ใจที่จะปฏิบัติงานกับองค์การนี้ต่อไป ได้รับผลกระทบในระดับสูง
3. ด้านค่าตอบแทนและผลประโยชน์ หมายถึง ผลประโยชน์ของพนักงานที่ ปฏิบัติงานในองค์การ ได้แก่ เงินเดือน ค่าล่วงเวลา เบี้ยเลี้ยง และสวัสดิการต่าง ๆ ได้รับผลกระทบใน ระดับสูงภูมิหลังกับผลกระทบ
4. เพศหญิงได้รับผลกระทบโดยรวมสูงกว่าเพศชาย
5. พนักงานที่มีอายุช่วง 21-40 ปี ได้รับผลกระทบสูงกว่ากลุ่มอื่น
6. พนักงานที่มีระดับการศึกษา ระดับมัธยมถึงระดับปริญญาตรี ได้รับผลกระทบ สูงกว่ากลุ่มอื่น
7. พนักงานที่มีระยะเวลาในการทํางานระหว่าง 10 ปี ขึ้นไปได้รับผลกระทบ โดยรวมสูงกว่ากลุ่มอื่น
8. พนักงานระดับผู้ปฏิบัติได้รับผลกระทบโดยรวมสูงกว่าระดับอื่น

สรุปได้ว่า การปรับเปลี่ยนองค์การทําให้เจ้าหน้าที่ความรู้สึกไม่มั่นใจว่าจะได้รับ ค่าตอบแทนและผลประโยชน์เช่นเดิมหรือไม่และกลุ่มที่รู้สึกได้รับผลกระทบมากคือ กลุ่มผู้ปฏิบัติงาน กับระดับกลาง

Source: http://www.thaihrhub.com/index.php/archives/research-view/research-106/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น