วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2552

SCG Identity The Power of Innovation

ขนิษฐา อดิศรมงคล

เอกลักษณ์สำคัญอย่างหนึ่งของเครือปูนซีเมนต์ไทยก็คือ ‘ช้างเผือกในรูปหกเหลี่ยม’ ซึ่งเริ่มใช้มาตั้งแต่ปี 2516 หลัง Re-engineering โครงสร้างการบริหารงานครั้งประวัติศาสตร์ที่สะท้อนให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ หนักแน่น มั่นคง และแข็งแรงตลอดการดำเนินธุรกิจมาเกือบศตวรรษ

จนถึงวันนี้กลายเป็น Perception ของคนส่วนใหญ่ไปแล้วว่าเมื่อพูดถึงเครือฯก็จะนึกถึงความมั่นคงมาเป็นอันดับหนึ่งทั้งยังเป็นบรรษัทธรรมมาภิบาล เป็นทั้งคนเก่งและคนดีของสังคมดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใสตรงไปตรงมาและตรวจสอบได้

มากกว่านั้น SCG ในวันนี้ไม่ได้ล้าสมัยไปกับกาลเวลาทว่า Young at Heart และเป็นผู้นำนวัตกรรมด้วยไอเดียแปลกใหม่อยู่เสมอ

สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นมาจากการที่บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง SCG ลุกขึ้นมาปรับภาพลักษณ์องค์กรครั้งสำคัญอย่างที่ไม่เคยทำมาก่อนเมื่อกลางปี 2547

จากจุดเริ่มต้นโฆษณาชุด Tree of Imagination จนมาถึง Infinite Possibilities และ Idea on Paper ในปี 2548 ล้วนเป็น Corperate Advertising ที่มีนัยะสำคัญเพื่อสะท้อนให้เห็นถึง Power of Innovative ของ SCG ทั้งสิ้น

คุณมัทนา ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัทเครือปูนซิเมนต์ไทย หรือ SCG เล่าถึงที่มาของแคมเปญ Corperate Advertising เหล่านี้ว่า เพื่อสร้าง Perception ให้กับคนทั่วไปว่าวันนี้ SCG มีมากกว่าวัสดุก่อสร้าง หรือปูนซีเมนต์ และแน่นอนว่าวันนี้ SCG มีความเป็น Innovative Organization ขนาดไหน

เพราะมีคนจำนวนมากที่ยังไม่รู้ว่าเมื่อหลายสิบปีก่อนเครือซิเมนต์ไทยสยายปีกธุรกิจไปอีกเยอะนอกจากผู้ผลิตและจำหน่ายปูนซีเมนต์ และวัสดุก่อสร้างแล้วยังมีธุรกิจกระดาษ และธุรกิจเคมีภัณฑ์ซึ่งธุรกิจหลังนับว่าเป็นเค้กก้อนใหญ่สร้างกำไรให้กับ SCG มากที่สุดด้วยซ้ำ

“ช่วงนั้นเป็นจังหวะเดียวกับที่มีการปรับเปลี่ยนธุรกิจให้ออกมาเป็น Innovation ตามแนวความคิดในสมัยคุณชุมพล ณ ลำเลียง หลังจากลอนช์โฆษณาชุดแรกในธีม Drawing the Future แล้วตามด้วยธุรกิจปิโตรเคมีในปี 2548 เพราะเราคิดว่าจะ Reflex ในเรื่อง Innovation ได้ขณะเดียวกันก็สามารถสร้างการรับรู้กับคนทั่วไปว่าเรามีธุรกิจปิโตรเคมีผ่านโฆษณาชุด Infinite Possibilities ให้รู้ว่าสิ่งที่เราผลิตออกมามันเป็นอนาคตอย่างเม็ดพลาสติกเนี่ยสามารถทำอะไรที่เป็น Innovation Product ได้”

หลังจากนั้น SCG ต่อยอดด้วยโฆษณาชื่อชุด Idea on Paper ซึ่งเป็นการแนะนำธุรกิจกระดาษด้วยลุคที่ Modernize ยิ่งขึ้นมีการนำเสนอโดยใช้ Mood and tone แบบ European Style ที่เน้นการใช้โทนสีแปลกใหม่ น่าสนใจ ชวนให้ติดตามซึ่งแตกต่างและฉีกออกจากภาพยนตร์โฆษณาที่มีอยู่ในขณะนั้นแสดงให้เห็นความยิ่งใหญ่ของกระดาษซึ่งเครือซิเมนต์ไทยเป็นแหล่งผลิตกระดาษและบรรจุภัณฑ์ระดับโลกเพื่อรองรับทุก Creative Idea

และในปีนี้จะมีโฆษณาออกมาอีก 2 ชุด เป็นจิ๊กซอว์ที่เหลือเพื่อเติมเต็มภาพลักษณ์ของ 5 ธุรกิจที่ SCG ดำเนินการอยู่ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

“แต่ไม่ว่าเราจะออกโฆษณาอีกกี่ชุดนั่นไม่ใช่เรื่องสำคัญเท่ากับว่าเราเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมด้วยตัวของเราเอง เพราะเราเป็นองค์กร Sustaintial ทำอะไรทำจริง อะไรก็ตามที่เรายังไม่มี Behavior เราจะไม่ทำแคมเปญ”

นี่คือที่มาของ “SCG Power of Innovation Award” กิจกรรมภายในองค์กรที่ Kick off ไปเมื่อ 2 ปีก่อนจัดให้มีการแข่งขันระหว่าง Business Unit ต่างๆชิงรางวัล 1 ล้านบาท โดยทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในปีที่แล้วคือ ทีม Pimai ของบริษัทเซรามิกอุตสาหกรรมไทยธุรกิจผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เป็นผู้คิดค้นและพัฒนากระเบื้องพิมายจนกลายเป็นสินค้าที่สร้างชื่อเสียงให้กับเครือฯในระดับโลกหลังจากถูกส่งขายไปยังประเทศชั้นนำด้านแฟชั่น เช่น ฝรั่งเศส อังกฤษ และอิตาลี

“โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง Inno People ,Inno Leader ในองค์กรได้อย่างชัดเจนกระตุ้นให้เกิดการคิดค้นประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ ทั้งเรื่องบริการ กระบวนการผลิต และนวัตกรรมสินค้าใหม่ ถามว่าทำไมเราเน้นตรงนี้เพราะในอนาคตเราไม่ได้ทำธุรกิจเฉพาะในเมืองไทย แต่ทำธุรกิจเพื่อยกระดับประเทศไทยสู้กับต่างชาติ เราไม่ได้มองประเทศไทยเป็นตลาดเดียว แต่มองว่าอาเซียนเป็น Market Place เหมือนอียูหรืออเมริกาก็เป็นตลาดหนึ่ง ตอนนี้เรายังทำแคมเปญผ่านโฆษณาทางโทรทัศน์และ Advertorial ในนิตยสารต่อเนื่องมา 2 ปีแล้วเพื่อรณรงค์ให้เกิดความร่วมมือในระดับอาเซียน เราเป็นองค์กรแรกๆที่เริ่มต้นใช้สื่อในต่างประเทศเพื่อจุดประกายให้เกิดคความแข็งแกร่งพอที่จะแข่งขันกับจีน หรืออินเดียได้”

CSR Move

อย่างไรก็ดีลำพังโฆษณาคงไม่ทำให้ภาพลักษณ์ความเป็นธุรกิจที่มี Innovation เติบโตแบบก้าวกระโดดได้ SCG จึงมีกลยุทธ์ออกมาเป็นแพ็กเกจ นอกจากโฆษณาแล้วยังมีกิจกรรม โครงการ เพื่อให้สังคมรับรู้ว่าเป็นองค์กรธุรกิจที่มีนวัตกรรมควบคู่ไปกับความเป็นคนดีของสังคม

ย้อนกลับไปที่โฆษณาชุดแรก Tree of Imagination ภายใต้ธีม “คิดเพื่ออนาคต” ( Drawing the Future ) ซึ่งเป็นโฆษณาเพื่อสังคมสะท้อนให้เห็นถึงจุดยืนที่ยึดถือมาโดยตลอดในความรับผิดชอบต่อสังคม ด้วยการดำเนินเรื่องราวต่างๆผ่านเด็กได้จุดประกายให้ SCG ริเริ่มโครงการ Thailand Rescue Robot Championship เพื่อ Encourage ให้เยาวชนได้ฝึกทักษะแนวความคิดแบบนอกกรอบอย่างเป็นรูปธรรม

นับว่า SCG เป็นเจ้าแรกที่สนับสนุนโครงการแข่งขันประกวดหุ่นยนต์กู้ภัยครั้งแรกในประเทศไทยเพื่อส่งเสริมให้เยาวชนเกิดความตื่นตัวนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประยุกต์ในการประดิษฐ์ผลงาน และค้นหาตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันในรายการระดับโลก World Robocup Rescue

“เราเปิดเวทีให้เขาได้คิดค้นอะไรที่เป็นประโยชน์แก่มวลมนุษยชาติจะเห็นได้ว่าไม่ใช่ประกวดหุ่นยนต์ธรรมดาแต่เป็นหุ่นยนต์กู้ภัยเพื่อหวังว่าจะเซฟชีวิตมนุษย์ในเหตุการณ์ที่ต้องกู้ภัย ซึ่งทั่วโลกก็มีประกวดอย่างนี้อยู่ปรากฏว่าปีที่แล้วทีมเยาวชนไทยรางวัล Semi-Final นั่นคือเหตุผลว่าทำไมเราถึงจัดโครงการอย่างนี้”

จะเห็นได้ว่า Corporate Social Responsibility ภายใต้มูลนิธิซิเมนต์ไทยที่ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 ของ SCG ส่วนใหญ่มี Ideal Objective ที่เน้นเยาวชนเป็นหลัก เนื่องจากต้องการพัฒนาเยาวชนให้เติบโตมาเป็นคนคุณภาพต่อไป

นอกจากโครงการ Rescue Robot แล้ว ก่อนหน้านี้ยังมีโครงการเสริมคนเก่งสร้างคนดีกับเครือซิเมนต์ไทย (Excellence Return ship Program) ซึ่งเป็นโครงการฝึกงานสำหรับนิสิต นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิศวกรรมศาสตร์ บัญชี และการตลาด เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการทำงานจริงด้วยการฝึกจริงคิดจริงทำจริง พร้อมทั้งปลูกฝังจริยธรรมและเสริมสร้างจิตสำนึกทั้งในด้านคุณภาพและความเป็นธรรมตามหลักบรรษัทภิบาลให้เป็นคนเก่งและดีในคนเดียวกัน รวมถึงโครงการ Cementhai Sci-Camp ค่ายวิทยาศาสตร์เยาวชนช้างเผือกซิเมนต์ไทย ร่วมกับสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยจัดค่ายวิทยาศาสตร์

ใช่แต่วิทยาศาสตร์ที่ SCG โฟกัสให้เกิดภาพของความเป็นคนดีมี Innovative Idea เรื่องศิลปวัฒนธรรมเป็นอีกแขนงหนึ่งที่มูลนิธีซิเมนต์ไทยให้ความสำคัญเพราะเห็นว่ามีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงต่อจินตนาการและพัฒนาการของเยาวชน โดยสนับสนุนโครงการ Young Thai Artist จัดให้มีการประกวดผลงานทางศิลปะทั้ง 6 ประเภท ได้แก่ ภาพพิมพ์ หนังสั้น ประติมากรรม วรรณกรรม ถ่ายภาพ และ Music Composition

แต่อย่างหนึ่งที่ทุกโครงการมีลักษณะเหมือนกันคือ เป็นโครงการระยะยาว เหมือนกีฬาแบดมินตันที่อยู่คู่กับ SCG มากว่า 25 ปีจนถึงทุกวันนี้ เรียกได้ว่าเมื่อพูดถึงแบดมินตันต้องนึกถึงปูนซิเมนต์ไทย

มูลนิธิซิเมนต์ไทยเข้าไปสนับสนุนกีฬาแบดมินตันอย่างครบวงจร ทั้งในระดับเยาวชน ระดับชาติ และนานาชาติ เริ่มจากการแข่งขันชิงชนะเลิศเยาวชนแห่งประเทศไทยเพื่อเฟ้นหาดาวรุ่ง จากนั้นจัดเป็นสปอนเซอร์หลักในการแข่งขัน Siam Cement All Thailand Badminton Championships เพื่อชิงอันดับมือนักแบดมินตันค้นหานักกีฬาช้างเผือกให้เป็นนักกีฬาทีมชาติ และเป็นผู้สนับสนุนการแข่งขันแบดมินตันกรังด์ปรีซ์โลก เครือซิเมนต์ไทย ไทยแลนด์ โอเพ่น เพื่อเก็บสะสมคะแนนจัดอันดับมือวางของโลก รวมทั้งโครงการ Go for Gold จัดตั้งทีมดำเนินการนำวิทยาศาสตร์การกีฬาที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้กับนักกีฬาเพื่อสร้างความเป็นเลิศในเรื่องแบดมินตันในระดับสากล

“แม้ก่อนหน้านี้เราเคยสนับสนุนกีฬาตะกร้อ และวอลเลย์บอล แต่ในระยะหลังมานี้เรา Concentrate แบดมินตันเพียงอย่างเดียวเพื่อที่จะทำให้ครบวงจรก้าวสู่ระดับโลกไปเลย อย่างบุญศักดิ์ พลชนะก็เป็นหนึ่งในความภูมิใจของเราเพราะอยู่ในอันดับ 10 ต้นๆของโลกแล้ว”

Source:http://www.brandage.com/Modules/DesktopModules/Article/ArticleDetail.aspx?tabID=2&ArticleID=1237&ModuleID=21&GroupID=581

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น