วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ความพึงพอใจของพนักงานต่อการสื่อสารภายในองค์การ กรณีศึกษาบริษัท ไฮไฟ โอเรียนท์ (ไทย) จํากัด

พฤษภาคม 2546

สุภา นานาพูลสิน

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา ความพึงพอใจของพนักงานต่อการสื่อสาร ภายในองคืการกรณีศึกษาบริษัทไฮไฟ โอเรียนท์ ไทย) จํากัด โดยรวมทั้ง 6 ด้านได้แก่ ด้าน ความพึงพอใจในงาน ด้านความเพียงพอของข่าวสาร ด้านความสามารถเสนอแนะปรับปรุงให้ ดีขึ้นของบุคคล ด้านประสิทธิภาพของช่องทางการติดต่อสื่อสาร ด้านคุณภาพของสื่อกลาง และด้านวิธีการติดต่อสื่อสารเพื่อร่วมงาน โดยจําแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา ระดับ ตําแหน่ง และ รูปแบบการสื่อสาร

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ พนักงานบริษัทไฮไฟ โอเรียนท์ (ไทย) จํากัด ทั้งหมดจํานวน 125 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม โดยใช้รับแบบสอบถามคืนมา 120 ชุด คิดเป็นร้อยละ 96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตนฐาน การวิเคราะห์ความแตกต่างใช้ทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way-Analysis of Variance: F-test) และค่าสหสัมพันธ์แบบง่ายของเพียร์สัน (Pearson product moment correlation coefficient) โดยใช้โปรแกรมสําเร็จรูป

ผลการวิจัยพบว่า พนักงานบริษัท ไฮไฟ โอเรียนท์ (ไทย) จํากัดที่ตอบแบบสอบถาม จํานวน 120 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุอยู่ระหว่าง 25-30 ปี มีระดับการศึกษาสูงกว่า อนุปริญญา /ปวส.ขึ้นไป และมีตําแหน่งระดับบริหาร /ผู้บังคับบัญชา จํานวน 23 คน มี ตําแหน่งระดับปฏิบัติการ จํานวน 97 คน ผลการศึกษาพบว่า

1. พนักงานบริษัทไฮไฟ โอเรียนท์ (ไทย) จํากัด ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อการ สื่อสารภายในองค์การ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีความพึงพอใจด้านความสามารถ เสนอแนะปรับปรุงให้ดีขึ้นของบุคคล และด้านวิธีการติดต่อสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานมากที่สุด
2. พนักงานบริษัท ไฮไฟ โอเรียนท์ (ไทย) จํากัด ที่มีเพศ อายุ และระดับการศึกษาต่างกันมีความพึงพอใจต่อการสื่อสารภายในองค์การ โดยรวมแตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ
3. พนักงานบริษัท ไฮไฟ โอเรียนท์ (ไทย) จํากัด ที่มีระดับตําแหน่งงานต่างกัน มีความพงพอใจต่อการสื่อสารภายในองค์การ โดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05
4. ทิศทางการสื่อสาร ได้แก่ การสื่อสารทางเดียว มีความสัมพันธ์ทางลบอยู่ในระดับ ปานกลางกับความพึงพอใจต่อการสื่อสารภายในองค์การ ส่วนการสื่อสารสองทาง มี ความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับปานกลางกับความพึงพอใจต่อการสื่อสารภายในองค์การ ที่ ระดับนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01
5. ประเภทของการใช้ในการสื่อสาร ได้แก่ การสื่อสารแบบทางเป็นทางการไม่มี ความสัมพันธ์กับความพึงพอใจต่อการสื่อสารภายในองคืการ ส่วนการสื่อสารแบบไม่เป็นทางการมีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับน้อยกับความพึงพอใจต่อการสื่อสารภายในองค์การที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract

The purpose of this research is to study the employees’ satisfaction with IntraOrganizational communication: A case study of HIFI Orient (Thai) CO., LTD. Six aspects had been observed which are job satisfaction, information sufficiency, suggestion and development capability, the efficiency of communication channels, media qualities and communication methods with colleagues. It classified by genders, age, education level, job position and communication methods.

The sample size used in this research was all employees of HIFI Orient (Thai) CO.,LTD., which are 125. A questionnaire was used as a mean for collecting data. The returned questionnaires were 120 copies, which are 96 in percentage. The statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation. T-test, one-way analysis of variance and Pearson product moment correlation efficient were used as different analysis by using a software.

As the research result. It was found that the 120 employees’ HIFI Orient (Thai) CO.,LTD. Were males more than females, had the age of 25-35 years old, had the education level higher than diploma or higher vocational level, had the 23 and 97 employees in management and operation position, respectively.

The results were as follow:
1. The employees’ HIFI Orient (Thai) CO.,LTD. Had the overall satisfaction with Intra-Organizational communication at moderate level. Moreover, they satisfied in their personal suggestion and development capability and communication methods with colleagues the most.
2. The employees’ HIFI Orient (Thai) CO.,LTD. With different genders, age and education level had different satisfaction toward overall Intra-Organizational communication with no statistical significant at .05
3. The employees’ HIFI Orient (Thai) CO.,LTD. Who had different job position, had different satisfaction toward overall Intra-Organizational communication with a statistical significant at .05
4. Communication direction consists of one-way and two-way communication, which had negative and positive correlation with overall satisfaction toward Intra-Organizational communication at moderate level, respectively, The statistical significant is .01
5. Communication type consists of formal and informal communication. There was no correlation between formal communication and overall satisfaction with Intra-Organizational communication. Whereas, informal communication had a positive correlation with overall satisfaction toward Intra-Organizational communication at less level, which the statistical significant is .05

Source:http://www.thaihrhub.com/index.php/archives/research-view/research-221/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น