วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ผลกระทบของรูปแบบการบริหารที่มีต่อความต้องการ พัฒนานวัตกรรมกระบวนการ : กรณีศึกษาอุตสาหกรรมสิ่งทอในประเทศไทย

เฟื่องฟ้า เป็นศิริ 2547

บทคัดย่อ
ในการศึกษาครั้งนี้ได้กําหนดวัตถุประสงค์ ที่จะศึกษานวัตกรรมกระบวนการในอุตสาหกรรมสิ่ง ทอ ซึ่งเป็นภาคอุตสาหกรรมสําคัญในประเทศไทยโดยมีประเด็นในการศึกษา 2 ประเด็นดังนี้
1) ปัจจัยทําให้เกิดความต้องการพัฒนานวัตกรรมกระบวนการ
2) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารของผู้บริหารกับการพัฒนานวัตกรรมกระบวนการ

ระเบียบวิธีการวิจัยเป็นรูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้ตัวแบบ Logistic Regression ในการ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวชี้วัดต่าง ๆ โดยการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้บริหาร และสังเกตการณ์ การทํางานและสภาพแวดล้อมขององค์การ

ผลการศึกษาพบว่า ในรูปแบบการบริหารในอุตสาหกรรมสิ่งทอ หากมีการมอบอํานาจในการ ตัดสินใจลงไปยังระดับล่างลึกมากเท่าไร และงานมีความซับซ้อนมาก จะมีความน่าจะเป็นที่จะนํา เทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการทํางานในลักษณะสนับสนุนการทํางานมากขึ้น หากผู้บริหารให้คําแนะนํา พนักงานโดยผ่านผู้บังคับบัญชาของพนักงาน ความน่าจะเป็นที่มีการกระจายอํานาจในการตัดสินใจมาก ขึ้น และหากผู้บริหารให้คําแนะนะพนักงานโดยผ่านผู้บังคับบัญชาของพนักงาน และงานที่ปฏิบัติมีความ เกี่ยวข้องกับหน่วยงานอื่นเสมอ การฝึกอบรมจะมีความน่าจะเป็นมากที่เป็นการฝึกอบรมในขอบเขตที่ กว้างหลากหลาย นอกเหนือจากงานที่ปฏิบัติและรวมถึงเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องด้วย ระดับความต้องการ พัฒนานวัตกรรมกระบวนการจะมาก หากรูปแบบการบริหารมีการมอบอํานาจในการตัดสินใจลงไปยัง ระดับล่าง ลักษณะงานมีความซับซ้อนและเกี่ยวข้องกับหน่วยงานอื่นเสมอ ตลอดจนการให้คําแนะนําต่อ พนักงานของผู้บริหาร เป็นการกระทําผ่านผู้บังคับบัญชาของพนักงาน

ในอุตสาหกรรมสิ่งทอในประเทศไทย การแก้ไขปัญหาจะเป็นแบบการประชุมหารือกับพนักงาน และความถี่ของการประชุมจะขึ้นอยู่กับความเกี่ยวข้องของานกับหน่วยงานอื่น ไม่ว่าผู้บริหารไม่ค่อย เรียกพนักงานประชุมปรึกษาหารือ หรือเป็นบางครั้ง หรืออย่างเสมอ หน่วยงานจะนําคอมพิวเตอร์เข้ามา ใช้เพื่อสนับสนุนการทํางานเฉพาะหน่วยงาน

การนําเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการทํางานมาก ร่วมกันทํางานเป็นทีม บริหารงานแบบกระจาย อํานาจการตัดสินใจ และฝึกอบรมในเรื่องที่กว้างขึ้น ส่งผลกระทบให้ งานที่ปฏิบัติมีความซับซ้อนขึ้นใน รูปแบบการบริหารเกี่ยวข้องกับผู้อื่นหรือหน่วยงานมากขึ้น ผู้บริหารมักไม่เข้ามามีส่วนร่วมในการ ทํางาน การลงโทษไม่กระทํากับพนักงานโดยตรง แต่จะมอบหมายให้ผู้บังคับบัญชาของพนักงาน ผู้ปฏิบัติงานผิดพลาดไปดําเนินการ ในการตัดสินใจดําเนินการบางอย่างจะมีบุคคลอื่นนอกเหนือจาก บุคคลภายในหน่วยงานมาร่วมลงความเห็นด้วย

ระดับความต้องการเสี่ยงต่อความสําเร็จ ประกอบด้วยตัวแปร 6 ตัว คือ
1. โครงการบริหารการเปลี่ยนแปลง (chgpl)
2. ระดับในการเปลี่ยนแปลง (chgly)
3. การต่อต้านจากผู้ร่วมงาน (resst)
4. วิธีบริหารการเปลี่ยนแปลง (chmm)
5. เป้าหมายอันดับ 1 ในการเปลี่ยนแปลง (obj1)
6. การบรรลุเป้าหมายในการเปลี่ยนแปลง (achv1)

ปรากฏว่า ไม่มีตัวแปรในรูปแบบการบริหารที่มีอิทธิพลต่อตัวแปรในระดับความต้องการเสี่ยงต่อ ความสําเร็จของผู้บริหาร และไม่มีตัวแปรในระดับความต้องการสี่ยงต่อความสําเร็จของผู้บริหาร ที่มี อิทธิพลต่อตัวแปรในระดับความต้องการพัฒนานวัตกรรมกระบวนการ


Abstract

The objective of this research is to study the process innovation in the textile industry which is one of the major industries in Thailand. The following two issues are studied:
1. The factors effecting the desire in development of process innovation
2. The relationship between the management style and the process innovation

The methodology used in this research is of qualitative type. Data are collected by interviewing and observation and analyzed by logistic regression model.

It was found that, for the factors of management style in the textile industry, if the authorization was delegated to the~ low-level employee and the job was very complicate, the probability of using technology to support the job operation increased. If the executive indirectly gave advices to the employees via their supervisors the probability of delegating decision making increased. If the executive indirectly gave advices to the employees via their supervisors and the job was normally related to other departments, the probability of training in
wide scope covering both related and non-related topics to the assigned job increased. The desire in development of process innovation increased if the decision making was delegated to the low-level employees, the job was complicated and was normally related to other departments and the executives advices to employees were indirectly given via their supervisors.

In the textile industry in Thailand, the problem solving was done by setting up meetings between the executives and the employees and the frequency of the meeting depended on the job relationship with other departments. The computer usage to support the specific job operation at the department level was independent of the frequency of meeting between the executive and the employees.

The job became more complicate and related more with other departments. The executive hardly involved the routine operations and assigned the supervisor to punish the subordinates in case of wrong doing. Besides the employees, outsiders were also invited to express opinions on certain issues.

The executive’s risk of success in this study consisted of 6 variables:
1. Change management project
2. Level of change
3. Employee resistance
4. Change management
5. Primary objective in change
6. Change target

No variable in the management style had a significant influence on the executive’s risk of success and there was no significant relationship between the risk of success and process innovation development.

Source: http://www.thaihrhub.com/index.php/archives/research-view/research-105/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น